โรคไต (ตอนที่ 2 )


 โรคไต (ตอนที่ 2 )

บทบาทกรดอะมิโนช่วยอาการไตวายเรื้อรัง

กรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน

            ผู้ป่วยโรคไตส่วนใหญ่จะขาดกรดอะมิโนในตัวนี้  เพราะผู้ป่วยที่ฟอกไตจะสูญเสียคาร์นิทินในการฟอกไตทุกครั้ง  กรดอะมิโนคาร์นิทีนมีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญไขมันให้เกิดพลังงาน  กล้ามเนื้อหัวใจ  จะได้พลังงานจากไขมันต้องพึ่งพาคาร์นิทิน  เพื่อเปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังแก่เซลล์กล้ามเนื้อ  หากผู้ป่วยสูญเสียหรือขาดแคลน  อาจจะเกิดอาการอ่อนเพลีย  กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดปกติได้

                ฉะนั้นผู้ป่วยต้องได้รับการเสริมอาหารคาร์นิทีนคาร์นิทีนเป็นสารประกอบสังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโน 2 ชนิด คือ  ไลซีน  และเมธไทโอนีนไลซีนมีอยู่มากในเนื้อปลา  ไข่  บริเวอร์ยีสต์  ซีส  ฯลฯ และในผลไม้มะขามป้อมจะมีมาก   ส่วนเมธไทโอนีน  มีอยู่มากใน  กระเทียม  หัวหอม  ไข่  ปลา โยเกิร์ตฯ  ถ้าเราไม่ทานเสริมอาหาร  ก็ควรหาอาหารโปรตีนที่มี  ไลซีน/เมธไทโอนีน  เป็นสารอาหารตั้งต้นของคาร์นิทีนแทน

            หรือใช้กรดไขมันสายกลางที่มีอยู่ในน้ำมันมะพร้าวที่สามารถให้พลังานเซลล์ได้ทันที  หรือใช้      โคเอ็นไซม์  Q10  สามารถเปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังงานได้เช่นกัน  ทำให้เซลล์ที่-อ่อนแอมีการฟื้นตัวและกลับมาทำงานเป็นปกติได้มากขึ้น

กรดอะมิโนแอล-ไลซีน

-                   มีความสำคัญมากในการสร้างโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโต

-                   ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

-                   สร้างสารภูมิต้านทาน  ฮอร์โมน  และเอมไซม์ต่างๆมากมาย

-                   ช่วยเปลี่ยนกรดไขมันให้พลังงาน(ถ้าใช้รวมกับเมธไทโอนีนจะเป็นสารตั้งต้นของคาร์นิทีน)

-                   ช่วยการดูดซึมแคลเซียม  ป้องกัน/รักษาโรคกระดูกพรุน

-                   ป้องกันเส้นเลือดฝอยที่ตาแดงแตก

-                   ลดอาการเกิดโรคเริม

            มีอยู่มากในอาหาร  ไข่  เนื้อปลา  บริวเวอร์ยีสต์ฯ

กรดอะมิโนเมธไทโอนีน

            มีหน้าที่ช่วยเปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังงาน  เป็นกรดอะมิโนที่มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบเช่นเดียวกับกรดอะมิโน  ซิสเตอีน  จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังมาก  ลดการทำลายของอนุมูลอิสระที่ไตและร่างกาย

-                   ช่วยลดอาการบวมขับน้ำที่คั่งอยู่ในเนื้อเยื่อ

-                   ช่วยปกป้องร่างกายจากสารพิษ/อนุมูลอิสระ

-                   ช่วยลดระดับสารอีสตามีนในเลือดรักษาอาการโรคจิตเภทบางชนิด

-                   ลดระดับโคเลสเตอรอล

-                   ช่วยขับฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนเกิน

-                   ช่วยป้องกันเนื้องอกบางชนิด  ถ้ารับประทานร่วมกับโคลีนและกรดโฟลิก

-                   มีมากในอาหารประเภท  กระเทียม  หัวหอม  ไข่ ปลา  โยเกิร์ตฯ

กรดอะมิโนซิสเตอีน

            เป็นกรดอะมิโนที่มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ  เป็นสารตั้งต้นของกลูต้าไธโอน

-                    ช่วยขัดขวางและป้องกันพิษจากโลหะหนัก  บุหรี่  สุรา  รังสีเอกซ์ฯ

-                   ช่วยในการเผาผลาญอาหาร

-                   ช่วยลดอนุมูลอิสระที่ไตและร่างกาย

-                   ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส ลดการผลิตเมลานินของผิว

มีมากในอาหารประเภท  กระเทียม  หัวหอม  หอมหัวใหญ่ฯ

กรดอะมิโนกลูตามีน

            มีหน้าที่ให้พลังงานแก่สมองช่วยกำจัดแอมโมเนียส่วนเกินที่จะไปทำลายสมอง   และเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นกลูตามีนทำให้กรดกลูตามิกสูงขึ้น  หากขาดกลูตามีน  จะทำให้สมองขาดกรดกลูตามิก  และที่สำคัญกลูตามีนเป็นสารตั้งต้นของกลูต้าไธโอนฯเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้เกือบทุกเซลล์ของร่างกาย  หากขาดกลูตามีนย่อมขาดกลูต้าไธโอนด้วย 

-                   ลดการทำลายอนุมูลอิสระที่ไตและร่างกาย

-                   ช่วยเพิ่มโก๊รธฮอร์โมนในร่างกาย

-                   สร้างกล้ามเนื้อ  ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

-                   ช่วยเพิ่มไอคิว  ให้กับสมองๆทำงานดีขึ้น

มีมากใน  เนยแข็ง(ชีส)  โยเกิร์ต  ผักโขม  กะหล่ำปลี  เนื้อสัตว์ฯ

กรดอะมิโนอาร์จินีนและอาร์นิทีน

            เป็นกรดอะมิโนที่เกี่ยวกับการหลั่งโก๊รธฮอร์โมนๆจะหลั่งออกมาเวลาหลับ ออกกำลังกาย  ระดับโก๊รธฮอร์โมนจะลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้น  อายุ  50  ปีขึ้นไปจะลดหรือหยุดการผลิต  แต่การทานอาหารมีส่วนช่วยยกระดับโก๊รธฮอร์โมนเพิ่มขึ้นได้ตัวเสริมสร้างโกร๊ธออร์โมนได้แก่  กรดอะมิโนอาร์จินีนออร์นิทีนกลูตามีน  ทริปไตแฟน  ไกลซีน  ไทโรซีนกรดอะมิโนทั้งหมดจะทำงานร่วมกันดีกว่าทำงานแยกกันเป็นตัวๆและยังมี  วิตามินซี  วิตามินบี6  บี3  สังกะสี  แคลเซียม  แมกนีเซียม  โดยทั้งหมดจะร่วมกันผลิตโก๊รธฮอร์โมน

 

 

โก๊รธฮอร์โมนดีอย่างไร

-                   ช่วยลดปริมาณยูเรียในเลือดและปัสสาวะ

-                   ช่วยเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงานแก่เซลล์

-                   เพิ่มความต้านทานโรค  ต่อต้านอนุมูลอิสระ

-                   ส่งเสริมความแข็งแรงกระดูก/กล้ามเนื้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

-                   ช่วยลดระดับ  LDL/ลดความดันโลหิตสูง

-                   ช่วยเลือดไปเลี้ยงไตมากขึ้น

กรดอะมิโนอาร์จินีนและออร์นิทีนมีมากในอาหาร  ถั่ว  ธัญพืช  เนื้อสัตว์  และอาหารโปรตีนสูงทุกชนิด

สารอาหารช่วยผู้เป็นไตวายเรื้อรัง

กรดไขมันสายกลาง+กระเทียม+โอเมก้า3(LINOLENIC)  ดูรายละเอียดหน้า


สารอาหารทั้งหมดจะช่วยให้หน่วยของไตทำงานดีขึ้น  มีเลือดไปเลี้ยงหน่วยไตมากขึ้น  ช่วยกำจัดสารพิษที่ตกค้างในร่างกายมากขึ้น  ทำให้อนุมูลอิสระน้อยลง  ในเลือดมีไขมันตัวดี  HDL เพิ่มขึ้น  ช่วยลดระดับของ  LDL  ไตรกลีเซอไรด์ให้น้อยลงซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดต่างๆ  และยังช่วยบรรเทาอาการผิวหนัง  เช่น  แห้ง  คล้ำ  คัน  ตกสะเก็ด  ให้ทุเลาลงมีผิวพรรณดีขึ้น

วิตามินและเกลือแร่

            วิตามินบี6  วิตามินบี3(ไนอาซิน)  วิตามินซี  วิตามินD3  สังกะสี  แคลเซียม  แมกนีเซียม โดยทั้งหมดจะไปกระตุ้นการหลั่งโก๊รธฮอร์โมน  ช่วยเพิ่มระดับโก๊รธฮอร์โมนในร่างกายซึ่งมีผลดีกับไตและร่างกายอย่างมากมาย

 

วิตามินบี6          - ผู้ป่วยโรคไตมักจะขาดวิตามินตัวนี้  ซึ่งช่วยอัตราการทำงานของไตเพิ่มขึ้น  ช่วยสร้างแอนติบอดี้และเม็ดเลือดแดงและดูดซึมโปรตีนดีขึ้น

วิตามินบี3          - ช่วยการไหลเวียนของเลือดขยายหลอดเลือดเพิ่มขึ้น  ลดความดันโลหิต  เพิ่มการเผาผลาญไขมันและอาหาร

วิตามินซี            - เป็นสารต้านอนุมูลอิสระมีประสิทธิภาพสูง  ช่วยสร้างคอลลาเจน  ซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆต่อชีวิตให้เซลล์ทำให้โปรตีนในเซลล์เกาะเกี่ยวกันได้ดีขึ้น(มะขามป้อมมีวิตามินซีสูงที่สุด)

วิตามินD3             - ช่วยการดูดซึมแคลเซียม/ฟอสฟอรัส  ลดอาการกระดูกพรุน

แคลเซียม          - เป็นแร่ธาตุขี้เหงาต้องร่วมกับวิตามินดี3และแมกนีเซียม  ถึงจะเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียมสู่กระดูกได้ดี  ช่วยกระดูกแข็งแรง  ลดอาการกระดูกเสื่อม/กระดูกพรุน/กระดูกหักและบาง

แมกนีเซียม        - ช่วยการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ  ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงาน  ช่วยลดความเครียด

สังกะสี              - เป็นแร่ธาตุที่คอยควบคุมให้การทำงานในร่างกายดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ   ซ่อมบำรุงระบบเอมไซม์และเซลล์ต่างๆมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนและคอลลาเจน  เป็นส่วนประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระเช่น  SOD  (ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส)

น้ำมันโอเมก้า 3 (งาขี้ม้อน,ปลา)

            งาขี้ม้อนจะมีโอเมก้า 3 สูงถึง  60% ขณะที่น้ำมันปลามีอยู่  30% จึงสามารถเลือกใช้ได้ทั้ง 2 ชนิด  ประโยชน์ของ OMEGA 3  จะช่วยลดไขมันในเลือดลดไตรกลีเซอไรด์  ลดการอักเสบของไต  ลดปัสสาวะมีไข่ขาว  เพิ่มการหมุนเวียนของเลือดได้ดี  ถ้ากินร่วมกับกรดไขมันสายกลาง  (น้ำมันมะพร้าว)จะเพิ่ม LCAT ได้ 152% ซึ่งมีผลต่อการเพิ่ม HDL  (ไขมันตัวดี) ในกระแสเลือดอย่างมากเท่ากับลดการอักเสบในเลือด  ไขมันในเลือด  ทำให้หลอดเลือดขยายตัวลดการเสื่อมของไตและเซลล์ต่างๆ  สิ่งสำคัญจะเพิ่ม  OMEGA 3  ในร่างกายและลดOMEGA 6 ในร่างกาย  การอักเสบในระดับเซลล์สาเหตุของโรคร้ายต่างๆจะน้อยลง(ดูรายละเอียดหน้า)

กรดไขมันสายกลาง(น้ำมันมะพร้าว)+กระเทียม (ดูรายละเอียดหน้า)

            กรดอัลฟ่าไลโปอิคประกอบไปด้วยกรดไขมันสายกลาง+ซัลเฟอร์  เป็นสารกำจัดอนุมูลอิสระทรงพลัง  ช่วยลดของเสียในร่างกายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ  เพราะผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกไต  จะมีของเสียที่ไหลเวียนเลือดอยู่ในกระแสเลือดสูง  ทำให้เกิดโรคต่างๆมากมาย  และผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเวลาฟอกไตจะมีกรดอะมิโนแอลคาร์นีทีนซึ่งมีหน้าที่เปลี่ยนไขมันเป็นพลังงานหลุดออกไปในขณะฟอกด้วย  จึงทำให้เกิดอาหารอ่อนเพลียหลังการฟอกไตทุกครั้ง  ตรงจุดนี้กรดไขมันสายกลางจะไปช่วยแก้ไขโดยให้พลังงานแก่เซลล์ทันทีจึงไม่เกิดอาการอ่อนเพลีย  และกรดไขมันสายกลางยังเป็นอาหารคีโตนจีนิกอีกทางหนึ่งด้วย(ดูรายละเอียดหน้า)

น้ำมันตับปลา

            จะอุดมไปด้วยวิตามิน D ซึ่งมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูก  ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังจะมีปัญหาเรื่องกระดูกพรุน  บาง  แตก  หักง่ายวิตามินDจากน้ำมันตับปลาจะช่วยได้เป็นอย่างดีและยังไปช่วยสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายอีกทาง  ผิวหนังที่แห้งดำคล้ำและคันจะทุเลาลงด้วย


Copyright © 2012 Thai-Bio.com, All rights reserved. Designed by Friendly6design